เกี่ยวกับการขับรถ

การหยุดรถและจอดรถ

กฎหมายเกี่ยวกับการขับรถและการจอดรถ

มาตรา 54 การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนตามมาตรา 37 หรือไฟ สัญญาณตามมาตรา 38 ก่อนที่จะหยุดรถหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร และจะหยุดรถหรือจอดรถ ได้เมื่อผู้ขับขี่เห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจรผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตรหรือจอด
รถตามทิศทางหรือด้านหนึ่งด้านใดของทางเดินรถที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถ ประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถในลักษณะดังกล่าวในเวลาที่กำหนดให้ใช้ช่อง
เดินรถประจำทางนั้น

มาตรา 55 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ
(1) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
(2) บนทางเท้า
(3) บนสะพานหรือในอุโมงค์
(4) ในทางร่วมทางแยก
(5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
(6) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
(7) ในเขตปลอดภัย
(8)(1) ในลักษณะกีดขวางการจราจร ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ขับขี่ซึ่งจำเป็นต้องหยุดรถเพราะมีสิ่งกีดขวางอยู่ในทางเดินรถ หรือเครื่องยนตร์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้องหรือในกรณีที่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร

มาตรา 56 ในกรณีที่เครื่องยนตร์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้องจนต้องจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องนำรถ ให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุดในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าจำเป็นต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจอดรถใน
ลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร และต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดใน กฎกระทรวง

มาตรา 57 เว้นแต่จะได้มีบทบัญญัติ กฎ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ห้ามมิให้ผู้ ขับขี่อดรถ
(1) บนทางเท้า
(2) บนสะพานหรือในอุโมงค์
(3) ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะสิบเมตรจากทางร่วมทางแยก
(4) ในทางข้าม หรือในระยะสามเมตรจากทางข้าม
(5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
(6) ในระยะสามเมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
(7) ในระยะสิบเมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
(8) ในระยะสิบห้าเมตรจากทางรถไฟผ่าน
(9) ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
(10) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ
(11) ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะสิบเมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
(12) ในที่คับขัน
(13) ในระยะสิบห้าเมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไปอีกสามเมตร
(14) ในระยะสามเมตรจากตู้ไปรษณีย์
(15) ในลักษณะกีดขวางการจราจร

มาตรา 58 การจอดรถในทางเดินรถที่ผู้ขับขี่ไม่อาจอยู่ควบคุมรถนั้นผู้ขับขี่ต้องหยุดเครื่องยนตร์และห้ามล้อรถ นั้นไว้การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาดหรือชัน ผู้ขับขี่ต้องหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง

มาตรา 59(1) เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่เคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือจอดอยู่อัน เป็นการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ได้
เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือจอดอยู่อันเป็นการฝ่าฝืนบทแห่ง พระราชบัญญัตินี้ หรือใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายรถดังกล่าวได้
การเคลื่อนย้ายรถหรือใช้เครื่องมือบังคับให้รถที่หยุดหรือจอดอยู่ไม่ให้เคลื่อนย้ายได้ตามวรรคสอง เจ้า พนักงาน-จราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตาม
มาตรานี้ เว้นแต่ความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการที่รถถูกเคลื่อนย้ายหรือถูกใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้าย ตลอดจนค่าดูแลรักษารถระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้
ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่าคันละห้าร้อยบาทและค่าดูแลรักษา ไม่น้อยกว่าวันละสองร้อยบาท
เงินที่ได้จากเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ซึ่งชำระตามวรรคสี่ เป็นรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง และให้นำมา เป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการตามมาตรานี้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ในกรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ไม่ชำระค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาตามวรรคสี่ เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหน่วงรถนั้นไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาดังกล่าว โดยในระหว่าง
ที่ยึดหน่วงนั้นให้คำนวณค่าดูแลรักษาเป็นรายวัน ถ้าพ้นกำหนดสามเดือนแล้วเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ยังไม่ชำระ ค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจนำรถนั้นออกขายทอด
ตลาดได้ เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาด ค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาที่ค้าง ชำระแล้ว เหลือเงินเท่าใดให้คืนแก่เจ้าของหรือผู้มีสิทธิที่แท้จริงต่อไป

มาตรา 60 การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถนอกเขตเทศบาลผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ซึ่งผู้ขับขี่ ซึ่งขับรถอื่นจะเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร

มาตรา 61 ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะ ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตาม
ประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 62 ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่าน ถ้าปรากฏว่า
(1) มีเครื่องหมายหรือสัญญาณระวังรถไฟแสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน
(2) มีสิ่งปิดกั้นหรือมีเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณแสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน
(3) มีเสียงสัญญาณของรถไฟหรือรถไฟกำลังแล่นผ่านเข้ามาใกล้อาจเกิดอันตรายในเมื่อจะขับรถผ่านไปผู้ขับขี่ ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อรถไฟผ่านไปแล้วและมีเครื่อง
หมายหรือสัญญาณให้รถผ่านได้ ผู้ขับขี่จึงจะขับรถผ่านไปได้

มาตรา 63 ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่านไม่ว่าจะมีเครื่องหมายระวังรถไฟหรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มี สัญญาณระวังรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถห่างจากทางรถไฟในระยะไม่
น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะขับรถผ่านไปได้

มาตรา 64 ในขณะที่ผู้ขับขี่รถโรงเรียนหยุดรถในทางเดินรถเพื่อรับส่งนักเรียนขึ้นหรือลง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอื่น ตามมาในทิศทางเดียวกันหรือสวนกันกับรถโรงเรียนใช้ความระมัดระวังและลดความเร็วของรถ เมื่อเห็น
ว่าปลอดภัยจึงให้ขับรถผ่านไปได้


ป้ายจราจร

          เครื่องหมายจราจร เป็นเรื่องที่ถือว่าใกล้ตัวเรามากที่สุดเรื่องหนึ่งก็ว่าได้ เพราะคนเราทุกวันนี้ต้องใช้รถ ใช้ถนน ในการเดินทางไปไหนมาไหน ดังนั้นแล้วการศึกษาเรื่อง เครื่องหมายจราจรทางบก จึงเป็นเรื่องที่ควรจะทำ ไม่เพียงแต่เฉพาะผู้ที่ใช้รถเท่านั้นที่ควรรู้เรื่อง เครื่องหมายจราจร แต่เป็นทุกคนที่ใช้ถนนร่วมกัน ควรจะเรียนรู้ สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร วันนี้กระปุกดอทคอม นำความรู้เรื่อง เครื่องหมายจราจร มาฝากกัน
          เครื่องหมายจราจรและความหมาย

          เครื่องหมายจราจร (Traffic Sign) หมายถึง สัญลักษณ์ทางจราจรที่ใช้ในการควบคุมการจราจร มักเป็นสัญญาณแสงหรือป้าย มักมีจุดประสงค์เพื่อ กำหนดบังคับการเคลื่อนตัวของจราจร การจอด หรืออาจเป็นการเตือน หรือแนะนำทางจราจร ดังนี้

          1. สัญญาณไฟจราจร

          สัญญาณไฟจราจร โดยทั่วไปประกอบด้วยสัญญาณไฟสามสี ติดตั้งตามทางแยกต่าง ๆ เพื่อควบคุมการจราจรตามทางแยก โดยทั้งสามสี ได้แก่ สีแดงให้รถหยุด สีเหลืองให้รถระวัง เตรียมหยุด และสีเขียวคือให้รถไปได้ สำหรับสัญญาณไฟจราจรพิเศษอาจมีสีเหลืองเพียงสีเดียวจะกะพริบอยู่ ใช้สำหรับทางแยกที่ไม่พลุกพล่าน หมายถึง ให้ระมัดระวังว่ามีทางแยก และดูความเหมาะสมในการออกรถได้เอง หรือ สัญญาณไฟจราจรสำหรับการข้ามถนน หรือ สัญญาณไฟจราจรไว้สำหรับเปลี่ยนเลน เป็นต้น

          2. ป้ายจราจร  

          ป้ายจราจร เป็นป้ายทางการควบคุมการจราจร แบ่งออกเป็นสามประเภท

          - เครื่องหมายจราจร ป้ายบังคับ มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีแดง เป็นป้ายกำหนด ต้องทำตาม เช่น ห้ามเลี้ยวขวา

          - เครื่องหมายจราจร ป้ายเตือน มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีดำ จะเป็นป้ายแจ้งเตือนว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า

          - เครื่องหมายจราจร ป้ายแนะนำ เป็นป้ายที่แนะนำการเดินทางต่าง ๆ อาทิ ทางลัด ป้ายบอกระยะทาง เป็นต้น

          3. เครื่องหมายจราจรอื่น ๆ 

          - เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายบนพื้นทางและขอบทางเท้า

          เครื่องหมายจราจร ประเภทป้ายบังคับ 1 และ รูปภาพเครื่องหมายจราจร
          แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

          1. ป้ายบังคับที่แสดงความหมายตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด

          2. ป้ายบังคับที่แสดงด้วยข้อความ และ/หรือสัญลักษณ์




          1. "หยุด"

          ความหมาย  รถทุกชนิดต้องหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้ว จึงให้เคลื่อนรถต่อไปได้ด้วยความ
ระมัดระวัง
 


          2. "ให้ทาง"

          ความหมาย รถทุกชนิดต้องระมัดระวังและให้ทางแก่รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไป ก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และ ไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้ว  จึงให้เคลื่อนรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง



          3. "ให้รถสวนทางมาก่อน"
          ความหมาย ให้ผู้ขับรถทุกชนิดหยุดรถตรงป้าย เพื่อให้รถที่กำลังแล่นสวนทางมาก่อน ถ้ามีรถข้างหน้าหยุดรออยู่ก่อนก็ให้หยุดรถรอถัดต่อกันมาตามลำดับ เมื่อรถที่สวนทางมาได้ผ่านไปหมดแล้ว จึงให้รถที่หยุดรอตามป้ายนี้เคลื่อนไปได้



          4. "ห้ามแซง"

          ความหมาย ห้ามมิให้ขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          5. "ห้ามเข้า"

          ความหมาย ห้ามมิให้รถทุกชนิดเข้าไปในทางที่ติดตั้งป้าย



          6. "ห้ามกลับรถไปทางขวา"
          ความหมาย ห้ามมิให้กลับรถไปทางขวาไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ  ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          7. "ห้ามกลับรถไปทางซ้าย"

          ความหมาย ห้ามมิให้กลับรถไปทางซ้ายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          8. "ห้ามเลี้ยวซ้าย"        
          ความหมาย ห้ามมิให้เลี้ยวรถไปทางซ้าย



          9. "ห้ามเลี้ยวขวา"
          ความหมาย ห้ามมิให้เลี้ยวรถไปทางขวา



          10. "ห้ามรถยนต์"

          ความหมาย ห้ามรถยนต์ทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          11. "ห้ามรถบรรทุก"        

          ความหมาย ห้ามรถบรรทุกทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          12. "ห้ามรถจักรยานยนต์"
          ความหมาย ห้ามรถจักรยานยนต์ผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          13. "ห้ามรถยนต์สามล้อ"

          ความหมาย ห้ามรถยนต์สามล้อผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          14. "ห้ามรถสามล้อ"

          ความหมาย ห้ามรถสามล้อผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          15. "ห้ามรถจักรยาน"

          ความหมาย   ห้ามรถจักรยานผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          16. "ห้ามล้อเลื่อนลากเข็น"
          ความหมาย  ห้ามล้อเลื่อนลากเข็นผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          17. "ห้ามรถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร"
          

          ความหมาย ห้ามรถยนต์ที่ใช้ในการเกษตรทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          18. "ห้ามรถจักรยานยนต์และรถยนต์"

          ความหมาย ห้ามรถจักรยานยนต์และรถยนต์ทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          19. "ห้ามรถจักรยาน รถสามล้อ รถจักรยานยนต์"
          ความหมาย ห้ามรถจักรยาน รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ ผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          20. "ห้ามใช้เสียง"

          ความหมาย ห้ามมิให้ใช้เสียงสัญญาณหรือทำให้เกิดเสียงที่ก่อการรบกวนด้วยประการใด ๆในเขตที่ติดตั้งป้าย



          21. "ห้ามคน"

          ความหมาย ห้ามคนผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          22. "ห้ามจอดรถ"

          ความหมาย ห้ามมิให้จอดรถทุกชนิดระหว่างแนวนั้น เว้นแต่การรับ-ส่งคน หรือสิ่งของชั่วขณะซึ่งต้องกระทำโดยมิชักช้า



          23. "ห้ามหยุดรถ"

          ความหมาย ห้ามมิให้หยุดรถหรือจอดรถทุกชนิดตรงแนวนั้นเป็นอันขาด



          24. "หยุดตรวจ"
          ความหมาย ให้ผู้ขับรถหยุดรถที่ป้ายนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจและเคลื่อนรถต่อไปได้เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจแล้วเท่านั้น



          25. "จำกัดความเร็ว"

          ความหมาย ห้ามมิให้ผู้ขับรถทุกชนิดใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามจำนวนตัวเลขในแผ่นป้ายนั้นๆ ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย จนกว่าจะพ้นที่สุดระยะที่จำกัดความเร็วนั้น



          26. "ห้ามรถหนักเกินกำหนด"
          ความหมาย ห้ามมิให้รถทุกชนิดที่มีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดหรือเมื่อรวมน้ำหนักรถกับ น้ำหนักบรรทุก เกินกว่าที่กำหนดไว้เป็น "ตัน" ตามจำนวนเลขในเครื่องหมายนั้นๆ เข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          27. "ห้ามรถกว้างเกินกำหนด"

          ความหมาย ห้ามมิให้รถทุกชนิดที่มีขนาดกว้างเกินกำหนดเป็น "เมตร" ตามจำนวนเลขในเครื่องหมายนั้น เข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



          28. "ห้ามรถสูงเกินกำหนด"

          ความหมาย ห้ามมิให้รถทุกชนิดที่มีความสูงของรถรวมทั้งของที่บรรทุกเกินกว่ากำหนดเป็น "เมตร" ตาม จำนวนเลข ในเครื่องหมายเข้าไปในเขตทางหรืออุโมงค์ที่ติดตั้งป้าย



          29. "ให้เดินรถทางเดียวไปข้างหน้า"

          ความหมาย ให้ขับรถตรงไปตามทิศทางที่ป้ายกำหนด



          30. "ทางเดินรถทางเดียวไปทางซ้าย"
          ความหมาย ให้ขับรถไปทางซ้ายแต่ทางเดียว 



          31. "ทางเดินรถทางเดียวไปทางขวา"
          ความหมาย ให้ขับรถไปทางขวาแต่ทางเดียว



          32. "ให้ชิดซ้าย"
          ความหมาย ให้ขับรถผ่านไปทางซ้ายของป้าย



          33. "ให้ชิดขวา"       

          ความหมาย ให้ขับรถผ่านไปทางขวาของป้าย 



          34. "ให้เลี้ยวซ้าย"

          ความหมาย ให้ขับรถเลี้ยวไปทางซ้ายแต่ทางเดียว



          35. "ให้เลี้ยวขวา"

          ความหมาย ให้ขับรถเลี้ยวไปทางขวาแต่ทางเดียว



          36. "ให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา"

          ความหมาย ให้ขับรถไปทางซ้าย หรือไปทางขวา



          37. "ให้ไปทางซ้ายหรือทางขวา"
          ความหมาย ให้ขับรถผ่านไปทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวาของป้าย



          38. "วงเวียน"

          ความหมาย ให้รถทุกชนิดเดินวนทางซ้ายของวงเวียนและรถที่เริ่มจะเข้าสู่ทางร่วมบริเวณวงเวียนต้องหยุดให้สิทธิแก่รถที่เล่นอยู่ในทางรอบวงเวียนไปก่อน   ห้ามขับรถแทรกหรือตัดหน้ารถที่อยู่ในทางรอบบริเวณวงเวียน



          39. "สุดเขตบังคับ"

          ความหมาย พ้นสุดระยะที่บังคับตามความหมายของป้ายบังคับที่ติดตั้งไว้ก่อน

      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น